ประเด็นการตรวจติดตามการพัฒนาเมืองสมุนไพร

ประเด็นการตรวจติดตามการพัฒนาเมืองสมุนไพร

ประเภทสมุนไพรที่สำคัญและมีศักยภาพในการผลิตของจังหวัดสระบุรี (176 ราย พื้นที่ 206.94 ไร่)

  • กระชาย : 163 ราย พื้นที่ 202.09 ไร่
  • ฟ้าทะลายโจร : 12 ราย พื้นที่ 2.15 ไร่
  • ขมิ้นชัน : 4 ราย พื้นที่ 2.70 ไร่

ผลความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City)

  1. การจัดทำฐานข้อมูลการผลิต และการจำหน่ายพืชสมุนไพรระดับจังหวัด กลุ่มเกษตรกรผลิต/แปรรูปสมุนไพร ได้แก่
    • วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกสมุนไพรตำบลหนองโดน อำเภอหนองโดน
    • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองเขื่อนช้าง ตำบลหนองยาว อำเภอเมืองสระบุรี
    • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปกระชายบ้านช่องใต้ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย
    • วิสาหกิจชุมชนรังไหมประดิษฐ์ ตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ
    • วิสาหกิจชุมชนเห็ดบ้านคลองไทร ตำบลคลองเรือ อำเภอวิหารแดง
    • วิสาหกิจชุมชนภูริธาราพรรณ ตำบลห้วยป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท
  2. การจัดทำแผนการผลิตและพัฒนามาตรฐาน (GAP/อินทรีย์/อื่น ๆ) สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมเกษตรกรเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน GAP และอินทรีย์ ดังนี้
    • ปี 2564 จำนวน 90 ราย แบ่งเป็น GAP จำนวน 90 ราย
    • ปี 2565 จำนวน 160 ราย แบ่งเป็น GAP จำนวน 105 ราย อินทรีย์ จำนวน 55 ราย
    • ปี 2566 จำนวน 195 ราย แบ่งเป็น GAP จำนวน 165 ราย อินทรีย์ จำนวน 30 ราย
  3. การส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการในการผลิต/พัฒนาและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร
    • ตลาดเกษตรกรหมุนเวียนจำหน่าย 40 ร้าน ทุกวันศุกร์ เฉลี่ย 342,000 บาท/เดือน
    • มีเกษตรกรของจังหวัดสระบุรี ผู้จำหน่ายบนแพลตฟอร์มตลาดเกษตรกรออนไลน์ จำนวน 9 หมวด 12 รายการ รายได้เฉลี่ย 5,000 บาท/เดือน
  4. การส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน GAP/อินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้
    • เกษตรกร 55 ราย จัดอบรมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
    • เกษตรกร 95 ราย จัดอบรมโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน GAP กิจกรรมพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ยกระดับการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP
  5. การตรวจวิเคราะห์รับรองวัตถุดิบสมุนไพรของเกษตรกรในจังหวัด

ผลการติดตาม ประเมินผลการดำเนินการ

  1. จำนวนวัตถุดิบสมุนไพรได้รับการรับรองคุณภาพ
    • GAP จำนวน 74 ราย จำนวน 261 แปลง พื้นที่ 1,998 ไร่
    • เกษตรอินทรีย์ จำนวน 4 ราย พื้นที่ 375.5 ไร่
  2. เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือเครือข่ายเกษตรกร ที่เข้าร่วมการปลูกพืชสมุนไพรมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีผ่านมาหรือไม่ มีฐานะทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
    • เกษตรกรมีแนวโน้มในการปลูกพืชสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ปี 64 จำนวน 179 ราย และในปี 2565 จำนวน 229 ราย แต่ส่วนใหญ่เป็นการปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกในเชิงการค้ายังมีจำนวนน้อย
    • ปลูกจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม สามารถเพิ่มรายได้ในครัวเรือนประมาณ 4,000 บาท/ปี/ราย และเกิดการจ้างงานในชุมชน
    • ยกตัวอย่างเช่น วิสาหกิจชุมชนภูริธาราพรรณ ตำบลห้วยป่าหวาย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม ได้แก่ เครื่องดื่มกระชายผงชงดื่มสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์รองของกลุ่ม ได้แก่ กาแฟกระชาย
  3. หน่วยงานได้มีการประสานงานและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องตามแนวประชารัฐ ในการพัฒนาเมืองสมุนไพร มีการจัดตั้งคณะทำงานประชารัฐด้านการขับเคลื่อน “สระบุรีเมืองสมุนไพร และสุขภาพดี” โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสระบุรี เป็นคณะทำงานและเลขานุการ
    • ข้อมูลความต้องการและช่องทางการรับซื้อจากโรงพยาบาลหนองโดน
    • ประชาสัมพันธ์การประกวดผลิตภัณฑ์สมุนไพร และงานมหกรรมอาหารเป็นยา วิถีชุมชน เพื่อคนสระบุรี จัดโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินการ

  1. ยังไม่มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน ทำให้เกษตรส่วนใหญ่เน้นปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน
  2. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกพืชสมุนไพร
  3. ต้นทุนการผลิตสูง ถ้าทำในสภาพโรงเรือนเพื่อการค้า

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

ส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานการรับรอง GAP มากขึ้น และจัดหาช่องทางการตลาด

ที่มา : ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น